สำหรับธุรกิจไทยการจะปรับตัวให้ทันต่อดิจิทัลดิสรัปชัน จำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ก่อน เพราะจะส่งผลให้การเปลี่ยนทักษะใหม่ และเพิ่มทักษะเกิดเป็นรูปธรรมที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงยังช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถดึงศักยภาพจากแพลตฟอร์มคลาวด์ที่มีอยู่มาใช้ได้
อย่างไรก็ดี โลกหลังจบการระบาดต้องการชุดทักษะที่จำเป็นต่างไปจากเดิม เจ้าของธุรกิจควรต้องเริ่มมองว่าระบบคลาวด์เป็นกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อพัฒนาให้เกิดสิ่งใหม่ๆ และมอบประสบการณ์แปลกใหม่ที่ดีกว่าให้ลูกค้า
การที่บริษัทมีกลยุทธ์ด้านระบบคลาวด์เป็นมากกว่าแค่ความมุ่งหวังที่จะเพิ่มทักษะ และเปลี่ยนทักษะให้แก่บุคลากรแต่ยังเป็นความมุ่งมั่นที่จะสร้างให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่น ปรับตัวได้ ถือเป็นการเดินหน้า ที่จะท้าทายวิธีการทำงานแบบเดิม ๆ
โดยการเริ่มต้นที่ดีที่สุดสำหรับกลุ่มธุรกิจก็คือ การพิจารณาจุดแข็ง และจุดอ่อนของกลยุทธ์ รวมถึงแนวทางทางธุรกิจของตนเองในปัจจุบัน โดยต้องพินิจพิเคราะห์หันกลับมามองว่า แพลตฟอร์มเทคโนโลยีแบบรวมศูนย์ที่มีอยู่นั้นเอื้อให้ทีมทรัพยากรบุคคลสามารถวัด และตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานว่ามีความกระตือรือร้นในการทำงานของบุคลากรได้หรือไม่
การเพิ่มทักษะ และการเปลี่ยนทักษะพนักงานจะขจัดอุปสรรคในการทำงาน โดยเอื้อให้บุคคลนั้นทำงานได้ตามระดับที่ต้องการซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจเกิดความต่อเนื่อง ที่สำคัญควรพัฒนาบุคลากรที่ทำงานให้บริษัทมานาน เพราะพวกเขามีความตระหนักถึงคุณค่า และเข้าใจวัฒนธรรมองค์กรมากกว่า บางสิ่งบางอย่างไม่สามารถบอกกันแล้วจะเข้าใจกันได้ง่าย ๆ ต้องผ่านประสบการณ์ และการเรียนรู้มาอย่างยาวนาน
โดยสรุป การสร้างทักษะดิจิทัล อาจแตกต่างกันในแง่ของตลาด และอุตสาหกรรม ซึ่งสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้ คือกลุ่มธุรกิจควรจะมีเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้ในระยะยาว ท้ายที่สุดการที่องค์กร และพนักงานเปลี่ยนไปใช้ระบบดิจิทัลจะต้องเกิดผลลัพธ์ที่สมจริง จับต้องได้ และวัดผลได้อย่างแน่นอน
ขณะเดียวกัน ธุรกิจไทยควรพิจารณาตั้งเป้าหมายให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ที่มุ่งผลักดันให้ภาคธุรกิจตระหนักถึงความสามารถในการแข่งขันที่มากขึ้นด้วยการพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถ ตลอดจนการปรับโครงสร้างเปลี่ยนให้ห่วงโซ่อุปทานเป็นดิจิทัลให้ได้