INFLUENCER MARKETING เรียกอีกอย่างว่า KOL (Key Opinion Leader) คือกลยุทธ์การตลาดชนิดหนึ่ง ที่ให้ผู้มีชื่อเสียงการันตีคุณภาพของโปรดักส์แทนการโฆษณาจากตัวแบรนด์เอง ด้วยการสร้าง Content ในรูปแบบเฉพาะตัว มีความน่าสนใจ สามารถเข้าถึงผู้คนจำนวนมาก และโน้มน้าวให้เกิดความต้องการโปรดักส์จากผู้บริโภคได้ (สร้างอิทธิพลทางความคิด)
หากจะพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นไปอีก..ก็คือการซื้อโฆษณาจาก Influencer เพื่อ Branding โปรดักส์ของเราผ่านช่องทางของเขาค่ะ

1. การเข้าถึง
เป็นเรื่องจริงที่..พลัง Social Media มากแค่ไหน..พลังของ Influencer ก็มากเท่านั้น เพราะด้วยความเป็น “ผู้นำความคิด” ที่กลุ่มผู้ใช้งานพร้อมเปิดรับ เชื่อฟัง และเผยแพร่ต่อ บวกกับอัลกอริทึม (Algorithm) ของช่องทาง Social ต่างๆ ที่พร้อมจะดัน Content ที่ได้รับ Engagement ดีขึ้นโชว์เป็นอันดับต้นๆ ให้ ผู้ใช้งานจำนวนมากเห็น (แล้วก็เกิดเป็นการแชร์กันต่อไปอีกไม่รู้จบ หรือที่เรียกกันติดปากว่า Viral นั่นเองค่ะ)
2. Influencer เป็นมากกว่า กระบอกเสียง
ถ้าใครกำลังเข้าใจว่า Budget ที่ใช้ไป แลกได้เพียงการกล่าวถึงโปรดักส์จาก Influencer เท่านั้นก็ถือว่าผิดค่ะ 🙂 เพราะหนึ่งในจุดเด่นของ Influencer คือ “ฝีมือ” ในการสร้าง Content ที่สร้างสรรค์ มีความเฉพาะตัว ด้วยความรู้เฉพาะทาง อันเป็นเหตุผลที่ทำให้มีผู้ติดตามจำนวนมาก ที่ชอบในเรื่องเดียวกัน
ฉะนั้นการทุ่ม Budget กับ Influencer จึงเทียบเสมอได้กับการซื้อ “Creative Idea” หรือ ความสามารถเฉพาะ ที่ตัว Influencer มีอยู่แล้ว ซื้อ “กลุ่มเป้าหมาย” ที่เราต้องการซึ่ง Influencer มีพร้อมอยู่ในมือ ซื้อการโพสต์เพื่อเข้าถึงผู้คนจำนวนมาก และสุดท้าย ซื้อความเชื่อใจ ความเชื่อมั่นต่อโปรดักส์ของเราเอง
3. เป็นตัวช่วย Campaign ที่ทรงพลัง
งานเปิดตัวโปรดักส์ จัดการแข่งขัน คอนเสิร์ตต่างๆ ซึ่งจากความสามารถของ Influencer ที่สร้างได้ทั้ง Awareness, Trust และ Revenue ก็คงไม่ต้องสงสัยว่ากิจกรรมทางการตลาดต่างๆ ของแบรนด์คุณที่กำลังจะจัดขึ้น จะได้รับการผลักดันที่ดีเยี่ยม เพื่อดัน Campaign ให้ทะลุเป้าตามที่หวัง
Influencer จึงถือว่าเป็นชิ้นเฟืองที่จะช่วยให้การตลาดสมบูรณ์แบบอย่างแท้จริงค่ะ

Micro Influencer
เสียงที่เบากว่า..แต่ทุกคนพร้อมจะรับฟัง!
สู่อันดับหนึ่ง INFLUENCER MARKETING TREND
Micro Influencer
อธิบายอย่างตรงตัวก็คือ “Influencer ที่จำนวนผู้ติดตามไม่มากนัก” อาจเริ่มจากการเป็น User ทั่วไป ที่ชอบสร้าง Content เล็กๆ น้อยๆ ตามความชื่นชอบ ความถนัดของตนเอง หรือ Review สินค้า/โปรดักส์ต่างๆ เป็นประจำ จนมีผู้สนใจและติดตามกลุ่มเล็กๆ ในที่สุด โดยยอดผู้ติดตามเกณฑ์คร่าวๆ ได้ตั้งแต่ 1,000 ถึง 10,000 คน (Micro Influencer จึงอาจเป็นใครก็ได้..คุณก็เช่นกันค่ะ )
ด้วยความง่ายนี้เอง Micro Influencer ในปัจจุบัน จึงกำเนิดขึ้นตามช่องทางต่างๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ได้อย่างชัดเจน ถึงความนิยมของ Influencer Marketing
แต่ Micro Influencer มีผู้ติดตามน้อยไม่ใช่เหรอ..
แล้วทำไมหัวข้อจึงบอกว่า เป็นอันดับ 1 ล่ะ?
ด้านล่างมีคำตอบที่ชัดเจนค่ะ
Influencer VS Micro Influencer
ผลลัพธ์ ที่ไม่ได้วัดผลด้วยจำนวนผู้ติดตาม

แต่จะใช้ Micro Influencer ก็กลัว Reach น้อย..แบบนี้จะเลือกใครดีล่ะ?
เป็นหน้าที่ของนักการตลาดที่ต้องตีโจทย์ค่ะ ว่าสินค้าหรือบริการที่จะใช้กลยุทธ์การตลาดแบบ Influencer นั้น มี Objective คืออะไร?
และ Objective นั้นหมาะกับ Micro Influencer หรือ Powerful Influencer กันแน่? (ภาพนี้ สามารถอธิบายได้คร่าวๆ ถึง Benefit ที่แตกต่างกันค่ะ)
เพราะด้วย Benefit ที่ต่างกันชัดเจนอย่างที่กล่าวมานั้น ทำให้เราต้องวิเคราะห์ แยกแยะ เข้าใจทั้งกลุ่มเป้าหมาย และสินค้าตัวเองเป็นอย่างดี รวมไปถึงศึกษาคู่แข่งทางการตลาด โดยเฉพาะในกลุ่มที่มี Target เดียวกัน เพราะมีโอกาสสูงที่พวกเขาก็มองหา Influencer แบบเดียวกันกับคุณ (และ สินค้า ของพวกเขาอาจเป็น ‘ไวรัล’ ไปเรียบร้อยแล้ว ด้วย Influencer )
Influencer Marketing จึงเป็นอีกความท้าทายหนึ่งของนักการตลาดปัจจุบัน ที่ผู้บริโภคเริ่ม “เชื่อ” สื่อโฆษณา หรือสารที่มาจากแบรนด์น้อยลง แต่จะมองหา Content รูปแบบอื่น บน platform ต่างๆ เพื่อศึกษาก่อนตัดสินใจซื้อ และใน Platform เหล่านั้นเอง ก็ได้กลายมาเป็นพื้นที่การแข่งขันทางการตลาด ที่มีคู่แข่งเท่านกบนท้องฟ้า และ Influencer จำนวนมากให้เลือกเท่าปลาในมหาสมุทร.