NEWS & UPDATE

จริงหรือ? Facebook ยังทรงอิทธิพลมหาศาล แม้นักลงทุนไม่กดไลก์

ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สื่อมวลชนทั่วโลกต่างรายงานข่าวว่าเครือข่ายโซเชียลมีเดียที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Facebook อาจกำลังเข้าสู่ช่วงเริ่มต้นของการล่มสลาย ตั้งแต่ต้นเดือน หลังจากต้นสังกัด Facebook เปิดเผยว่า สูญเสียผู้ใช้รายวันนับล้านรายเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 18 ปี ซึ่งนำไปสู่ภาวะหุ้นร่วง 27% มูลค่าตลาดบริษัทดิ่งเหว 2.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 7.7 ล้านล้านบาท หรือเกือบ 1 ใน 4 ของมูลค่าของบริษัท 

นอกจากรายได้จะหด แนวโน้มฐานผู้ใช้ของ Facebook ยังถดถอยสู้คู่แข่งไม่ได้ เพราะผู้ใช้ Facebook ส่วนใหญ่มีอายุมาก และคนรุ่นใหม่หันมาใช้แพลตฟอร์มแชร์วิดีโออย่าง TikTok จนดูเหมือนว่าบริษัทกำลังจะไม่สามารถเข้าถึงตลาดใหม่ได้ดีเหมือนเคย

สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงอีกเมื่อ Facebook ประเมินว่า ข้อจำกัดของฟีเจอร์ใหม่บนระบบปฏิบัติการ iOS ของ Apple ที่เพิ่มการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ในการถ่ายโอนข้อมูลอัตโนมัติไปยังผู้ลงโฆษณานั้นอาจทำให้ Facebook สูญรายได้ราว 1 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2021

ขณะเดียวกัน Google ก็เพิ่งออกประกาศฟีเจอร์ใหม่ที่คล้ายกันสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์ระบบปฏิบัติการ Android ซึ่งน่าจะทำให้ Meta บริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก สูญรายได้มากขึ้นอีก

ทางแก้เกมที่ถูกเตรียมไว้คือ Metaverse หรือการสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริงแบบสมจริง ซึ่งจะมีอิมแพ็กต่อระบบเศรษฐกิจ และสังคมของโลกอย่างมหาศาล อย่างไรก็ตาม เกมนี้ยังต้องใช้เวลาหลายปีในการวิจัย รวมไปถึงการลงทุนเพิ่มเติมอีกหลายพันล้านดอลลาร์ ทำให้ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่า Metaverse จะไปในทิศทางไหน

แน่นอนว่าสถานการณ์เหล่านี้ไม่ได้คว่ำ Meta จนไปต่อไม่ได้ เพราะ Facebook ยังมีผู้ใช้รายเดือน 2,910 ล้านราย และยังคงเป็นเครือข่ายโซเชียลที่ใหญ่ที่สุดในโลก นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปี 2004 2547 สามารถครองแชมป์โดยเข้าถึงผู้ใช้มากกว่า 50% ของประชากรโลก 

แม้มูลค่าตลาดปัจจุบันจะลดเหลือ 565,000 ล้านดอลลาร์ จากระดับที่เคยสูงสุด 1 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ส่งให้ Meta เป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก

เอมี แซลแมน หรือ @amyzalman นักอนาคตศาสตร์ เจ้าของบริษัทที่ปรึกษา Prescient เชื่อว่าไม่น่าเป็นไปได้ที่จะสามารถรักษาตำแหน่งแชมป์ใหญ่ที่กินรวมส่วนแบ่งตลาดเครือข่ายสังคมออนไลน์ไว้รายเดียว เพราะคู่แข่งสำคัญอย่าง TikTok, Twitter, YouTube, LinkedIn และ WeChat รวมถึงบริษัทโซเชียลมีเดียอีกหลายร้อยแห่งจะสามารถขยายส่วนแบ่งตลาดได้ต่อเนื่องในอนาคต ซึ่งหากบริษัทเหล่านี้แซงหน้า Facebook ได้ ก็เชื่อว่าเป็นเพราะโมเดล หรือรูปแบบที่ Facebook สร้างขึ้นมา

วันนี้ ‘คู่แข่งหลัก’ ของ Facebook อาศัยหลักการเดียวกันในการโฆษณาตามเป้าหมาย หลายบริษัทติดตามข้อมูลประชากรและพฤติกรรมของผู้ใช้ทางออนไลน์ในระดับที่กฎหมายเปิดช่องให้สามารถทำได้ และพยายามคัดสรรเครื่องมือมากำหนดเป้าหมายกลุ่มย่อยจากฐานผู้ใช้ทั้งหมด ซึ่งเป็นลูกค้าที่มีแนวโน้มซื้อสินค้ามากที่สุด

ประเด็นนี้ยิ่งมีความชัดเจนขึ้นอีก เมื่อทุกธุรกิจต้องย้ายไปทำมาหากินผ่านระบบดิจิทัล พฤติกรรมของผู้ใช้ที่สามารถติดตามได้ทั้งบนโลกออนไลน์ และบนโลกจริงล้วนมีค่ามากขึ้น 

โดยนอกจากเรื่องเศรษฐกิจ พลังของข้อมูลยังเปลี่ยนโฉมการเมืองของโลกอีกด้วย อิทธิพลของโซเชียลมีเดียต่อการเลือกตั้งอาจก่อให้เกิดเรื่องอื้อฉาว เพราะสามารถทำแคมเปญที่กำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนปัจจุบัน การกำหนดเป้าหมายบนสื่อดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการหาเสียงทางการเมืองในวงกว้างของสหรัฐอเมริกา รวมถึงเมืองไทยไปแล้วเรียบร้อย

เอมีอธิบายว่า Facebook ได้ทำให้สภาพแวดล้อม ‘การเข้าสังคมออนไลน์’ ของชาวโลกตกผลึกในแบบที่ทุกคนเคยมองข้ามไป โดย Facebook ทำให้ความคิดที่ว่า “พวกเราสามารถมีส่วนร่วมในเครือข่ายสังคมที่มีขนาดเท่าประชากรโลก” เป็นเรื่องปกติ 

Facebook ยังทำให้เราเชื่อมต่อกับ ‘เพื่อนของเพื่อนๆ’ และรักษาความสัมพันธ์กับผู้คนทั่วโลกได้ ทำให้เป็นเรื่องธรรมดาที่ใครสักคนจะลุกขึ้นมาสร้างกลุ่ม และการเคลื่อนไหวทั้งหมดผ่านการเชื่อมต่อออนไลน์

เอมีสรุปอีกว่า เพราะ Facebook พวกเราจึงเคยชินกับการใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมแบบใหม่คือ ทั้งแบบสาธารณะและแบบใกล้ชิดในเวลาเดียวกัน (Public และ Intimate) ความเคยชินนี้ฝังรากจนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้ ซึ่งไม่ว่า Facebook จะอยู่รอดหรือไม่ ก็แทบจะไม่มีผลกับการใช้งานในอนาคต

เอมีย้ำด้วยว่า ปัญหาที่วนเวียนอยู่รอบ Facebook จะยังคงมีอยู่ และไม่ว่าบริษัท Meta จะล่มสลายในวันไหน พวกเราชาวโลกก็ยังคงต้องแก้ไขจุดเจ็บปวด หรือเพนพอยต์ พื้นฐานของโซเชียลมีเดีย เพื่อให้ชาวโลกมีชีวิตอยู่ และเจริญรุ่งเรืองร่วมกันบนโลกดิจิทัลกันได้ต่อไป

สิ่งที่ตอกย้ำว่า ‘ปัญหาที่สำคัญที่สุดของวงการเครือข่ายสังคมคือ การจัดการพลังมหาศาลของข้อมูลส่วนบุคคล’ คือรายได้ของ Facebook  เพราะเม็ดเงินมหาศาลแสดงให้เห็นว่า ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นมีคุณค่าทางการเงินเพียงใดเมื่อมีการสร้างรูปแบบธุรกิจที่อนุญาตให้ผู้โฆษณากำหนดเป้าหมายผลิตภัณฑ์แบบเจาะไปยังบุคคล 

อีกปัญหาที่ยังมะรุมมะตุ้ม Facebook อยู่คือ ความท้าทายเรื่องคำพูดแสดงความเกลียดชัง เรื่องนี้ต้องไปดูกรณีที่ ฟรานเซส ฮอเกน อดีตผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของส่วนงานแก้ปัญหาข้อมูลที่ไม่ถูกต้องของเฟซบุ๊ก ออกมาเปิดเผยเอกสารภายในของ Facebook ที่ระบุว่า คำพูดแสดงความเกลียดชังที่โพสต์บน Facebook มากกว่า 95% นั้นยังคงอยู่ที่เดิม ไม่ได้ถูกลบไป 

กลายเป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นความล้มเหลวที่ชัดเจนของระบบแก้ไขปัญหา Hate Speech ของ Facebook ที่เน้นใช้อัลกอริทึมและการรายงานโดยผู้ใช้ ซึ่งยังไม่มีแผนปรับใช้ระบบที่ดีกว่าในขณะนี้

นอกจากนี้ความยิ่งใหญ่ และความมั่งคั่งแบบทวีคูณของ Facebook แม้ในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ ยังทำให้ความรู้สึกต่อต้านการผูกขาดกำลังเพิ่มขึ้น เห็นได้ชัดจากการที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกากำลังฟ้องร้อง Facebook โดยตั้งข้อหาว่า Facebook มีส่วนร่วมในการต่อต้านการแข่งขันและผูกขาดตลาดเครือข่ายสังคมออนไลน์ 

ซึ่งหากรัฐบาลชนะ Meta อาจถูกบังคับให้ต้องแตกเป็นบริษัทขนาดเล็กกว่าปัจจุบัน ขณะเดียวกัน Facebook ยังขัดแย้งกับบางประเทศในยุโรป เรื่องกฎระเบียนด้านการถ่ายโอนข้อมูล ซึ่งอาจนำไปสู่การปิดบริการในอนาคต

ในบทความเอมีทิ้งท้ายว่า วันนี้เครือข่ายโซเชียลหลายแห่งกำลังทดลองระบบใหม่ เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยที่มากขึ้น บางแห่งเลือกเก็บข้อมูลไว้ในเซิร์ฟเวอร์หลายจุดทั่วโลก โดยเปิดให้ผู้ใช้เลือกจุดเก็บในประเทศที่เชื่อถือว่ามีการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่แข็งแกร่ง ยังมีบางโซเชียลที่โฟกัสตัวเองเป็นเครือข่ายสังคมที่ใช้บล็อกเชนแบบกระจายศูนย์ที่ปลอดภัยกว่าเดิม รวมถึงบางค่ายที่ชูตัวเองเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลที่ไม่มีโฆษณา 

ทั้งหมดนี้ถือเป็นการสร้างขึ้นบนรากฐานที่ Facebook วางเอาไว้ในโลกที่เชื่อมต่อแบบดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผู้ใช้ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าต้นทุนหรือราคาที่ต้องเสียเพื่อใช้งานเครือข่ายสังคมเหล่านี้คือเท่าใดกันแน่

ที่สุดแล้วภาพใหญ่ ‘อนาคต Facebook’ จึงเด่นชัดว่า ไม่ว่าตัว Facebook จะอยู่หรือไป แต่อิทธิพลมหาศาลจะยังคงอยู่ไม่จืดจาง

ขอบคุณข้อมูลจาก thestandard.co

Related Post

รวมไอเดียแคมเปญการตลาดช่วงปีใหม่

CRM (Customer relationship management) เป็นเทคโนโลยีสำหรับจัดการความสัมพันธ์ของแบรนด์กับลูกค้าของคุณ ช่วยส่งเสริมปรับปรุงความสัมพันธ์ลูกค้า เป็นอีกหนึ่งวิธีเพิ่มลูกค้าขาประจำให้กับแบรนด์ โดยระบบ CRM ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ เชื่อมต่อกับลูกค้า เพิ่มขีดความสามารถในงานบริการ ส่งต่อสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าคนพิเศษของคุณ ทั้งนี้ในช่วงปีใหม่เป็นเวลาสำหรับการวางแผน ตั้งเป้าหมายของนักการตลาด และเจ้าของธุรกิจจำนวนมาก แบรนด์ส่วนใหญ่จะใช้เวลาช่วงเทศกาลปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงในการสร้างแคมเปญการตลาดให้ตอบโจทย์การเฉลิมฉลองในช่วงปีใหม่ หากต้องการใช้ช่วงเทศกาลอย่างเต็มที่ แคมเปญการตลาดของคุณจะต้องไม่เพียงแต่ทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงวันหยุดที่พิเศษเท่านั้น ยังต้องมีการสร้าง CRM กับลูกค้า และยังต้องสร้างความแตกต่างความประทับใจมากกว่าแคมเปญทั่วไป  เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับปีใหม่คุณอาจใช้ช่วงเทศกาลปีใหม่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่เป็นเฉพาะช่วงเทศกาลเท่านั้น

อ่านก่อนซื้อ ปีหน้า M Connect จะมาพร้อมกับฟีเจอร์ใหม่

M Connect หรือ Employee Engagement Platform ตัวช่วยที่จะให้คุณเปิดประสบการณ์การทำกิจกรรมกับพนักงานแบบไม่จำกัด ทุกที่ ทุกเวลา มาพร้อมกับฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์ทุก Generation องค์กร สร้างการมีส่วนร่วมเป็นทีมด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย เรียกได้ว่า “ONE TEAM ONE PLATFORM” ครบจบในแพลตฟอร์มเดียว ลดภาระงานของ Hr สร้างความสัมพันธ์พนักงานต่อองค์กร สร้างความสุขสนุกในการทำงาน สร้างบุคลิกภาพที่ดีมีใจบริการ เพราะถ้าพนักงานมีความสุข

ไม่ต้องมีฐานลูกค้า ก็ทำ SMS Marketing ได้

LBS หรือ Location-Based service เป็นหนึ่งในวิธีการสื่อสารโปรโมชั่นถึงลูกค้าผ่านการทำ SMS Marketing (SMS MKT) โดยสามารถส่งข้อความถึงลูกค้าตามโลเคชั่นในรัศมี 5 กิโลเมตรจากจุดที่คุณปักหมุด ไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลเบอร์ลูกค้า ก็สามารถส่งข้อความ SMS ไปหาลูกค้าได้ ซึ่งเป็นวิธีเพิ่มยอดขายง่าย ๆ เช่นการส่ง sms ส่วนลด แนบลิงก์ส่วนลด กดรับสิทธิพิเศษต่าง ๆ ทั้งนี้การทำการตลาดผ่านแคมเปญ

About Us

บริษัท โมบาย คอนเน็ค จำกัด เป็นผู้ให้บริการ Mobile
Marketing & CRM แบบครบวงจร ด้วยทีมงานที่มีความ
เชี่ยวชาญ และ มีประสบการณ์ให้บริการแก่องค์กรชั้นนำ
ต่างๆ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ

Tags

Related Post

Cannes exclusive campaign

เมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ ลอรีอัลเมคอัพ ชนิดใดก็ได้ ครบ 599 บาทต่อใบเสร็จ

รวมไอเดียแคมเปญการตลาดช่วงปีใหม่

CRM (Customer relationship management) เป็นเทคโนโลยีสำหรับจัดการความสัมพันธ์ของแบรนด์กับลูกค้าของคุณ ช่วยส่งเสริมปรับปรุงความสัมพันธ์ลูกค้า เป็นอีกหนึ่งวิธีเพิ่มลูกค้าขาประจำให้กับแบรนด์ โดยระบบ CRM ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ เชื่อมต่อกับลูกค้า เพิ่มขีดความสามารถในงานบริการ ส่งต่อสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าคนพิเศษของคุณ ทั้งนี้ในช่วงปีใหม่เป็นเวลาสำหรับการวางแผน ตั้งเป้าหมายของนักการตลาด และเจ้าของธุรกิจจำนวนมาก แบรนด์ส่วนใหญ่จะใช้เวลาช่วงเทศกาลปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงในการสร้างแคมเปญการตลาดให้ตอบโจทย์การเฉลิมฉลองในช่วงปีใหม่ หากต้องการใช้ช่วงเทศกาลอย่างเต็มที่ แคมเปญการตลาดของคุณจะต้องไม่เพียงแต่ทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงวันหยุดที่พิเศษเท่านั้น ยังต้องมีการสร้าง CRM กับลูกค้า และยังต้องสร้างความแตกต่างความประทับใจมากกว่าแคมเปญทั่วไป  เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับปีใหม่คุณอาจใช้ช่วงเทศกาลปีใหม่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่เป็นเฉพาะช่วงเทศกาลเท่านั้น

อ่านก่อนซื้อ ปีหน้า M Connect จะมาพร้อมกับฟีเจอร์ใหม่

M Connect หรือ Employee Engagement Platform ตัวช่วยที่จะให้คุณเปิดประสบการณ์การทำกิจกรรมกับพนักงานแบบไม่จำกัด ทุกที่ ทุกเวลา มาพร้อมกับฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์ทุก Generation องค์กร สร้างการมีส่วนร่วมเป็นทีมด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย เรียกได้ว่า “ONE TEAM ONE PLATFORM” ครบจบในแพลตฟอร์มเดียว ลดภาระงานของ Hr สร้างความสัมพันธ์พนักงานต่อองค์กร สร้างความสุขสนุกในการทำงาน สร้างบุคลิกภาพที่ดีมีใจบริการ เพราะถ้าพนักงานมีความสุข